เมนู

กัมมนานากรณปัญหา ที่ 4


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
พระนาคเสนผู้เป็นเจ้าผู้ประกอบด้วยปัญญาอันประเสริฐ มนุษย์ทั้งหลายเกิดมาในโลกนี้มิได้
เสมอกัน อปฺปายุกา บางคนมีอายุน้อย บางคนเกิดมา ทีฑายุกา มีอายุยืน พหฺวาพาธา
บางคนมีอาพาธเจ็บป่วยมาก อปฺปาพาธา บางคนมีอาพาธเจ็บป่วยน้อย อญฺเญ ทุพฺพณฺณา
บางคนมีผิวพรรษวรรณอันชั่ว อญฺเญ วณฺณวนฺตา คนอื่นบางพวกมีผิวพรรณวรรณอันงาม
อปฺเปสกฺขา บางพวกมีอานุภาพน้อย มเหสกฺขา บางพวกมีศักดานุภาพมาก อปฺปโภคา
บางพวกมีสมบัติน้อย พหุโภคา บางพวกมีสมบัติมาก อญฺเญ นีจา คนอื่นบางพวกมีสกุลอันต่ำ
อญฺเญ อุจฺจกุลิโน คนอื่นบางพวกมีสกุลกันสูง อญฺเญ ทุปฺปญฺญา คนอื่นบางพวกมี
ปัญญาน้อย ปญฺญวนฺตา บางพวกมีปัญญาวิเศษ เกน การเณน ด้วยเหตุเป็นไฉน
พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขตอบไปว่า มหาราช ของถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
ผู้ประเสริฐ รุกฺขา อันว่าต้นไม้ทั้งหลายอันเกิดมา อสมกา ไม่เสมอกัน อญฺเญ ติตฺติกา ต้นอื่น
บางต้นขมขื่น อญฺเญ กฏุกา ต้นอื่นบางต้นเผ็ดร้ายกาย อญฺเญ กสายเว ต้นอื่นบาง ต้นเฝื่อน
ฝาด รุกขชาติบางต้นหวาน กิสฺส เหตุ เหตุการณ์เป็นไฉน นะบพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
พระนาคเสนผู้เป็นเจ้า รุกชาติเหล่านี้เป็นด้วยพืชต่าง ๆ กัน
พระนาคเสนมีเถระวาจาว่าอันใดก็ดี มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้เป็น
มหิศราธิบดี คนทั้งหลายนี้เกิดมาไม่เหมือนกัน เพราะกุศลากุศลกรรมกระทำไว้ต่าง ๆ กัน
สมด้วยพระพุทธฎีกาสมเด็จพระภควันตบพิตรพุทธสัพพัญญูเจ้าตรัสไว้ฉะนี้ :-
กมฺมสฺสกา สตฺตา กมฺมทายาทา กมฺมโยนี กมฺมพนฺธู กมฺมปฏิสฺสรณา กมฺมํ สตฺเต
วิภชฺชติ ยทิทํ หีนปฺปณีตตายาติ

กระแสพระพุทธฎีกาตรัสโปรดไว้ว่า สตฺตา อันว่าสัตว์โลกทั้งหลายอันจะเกิดมาในโลกนี้
มีลักษณะต่าง ๆ กันโดยประเภท กมฺมสฺสกา เหตุว่าเพราะผลกรรมที่ตนได้กระทำไว้ กมฺม-
ทายาทา บางพวกก็มีกรรมเป็นเชื้อสาย กมฺมโยนี บางพวกก็มีกรรมเป็นกำเนิด บางพวกก็มี
กรรมเป็นเผ่าพงศ์วงศา บางพวกก็มีกรรมเป็นที่พึ่ง ตกว่ากุศลกรรมและอกุศลกรรมสอง
จำพวกนี้แบ่งสัตว์ให้เป็นสองจำพวกออกไป ให้เป็นหีนะจำพวก 1 ให้เป็นประณีตะจำพวก 1
คือแต่งดีแต่งชั่ว ที่ฝ่ายกุศลก็แต่งให้ดี ที่ฝ่ายอกุศลก็แต่งให้ชั่วช้า นี่แหละพุทธฎีกาโปรดไว้ฉะนี้


สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดี ทรงฟังก็มีน้ำพระทัยโสมนัสตรัสว่า กลฺโลสิ
สธุสะพระผู้เป็นเจ้าวิสัชนานี้สมควรแล้ว
กัมมานานากรณปัญหา คำรบ 4 จบเท่านี้

ปฏิกัจเจววายามกรณปัญหา ที่ 5


ราชา สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการถามพระนาคเสน
องค์อรหันต์ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้า ตุมฺเห ภณถ พระผู้เป็นเจ้า
กล่าวไว้แก่โยมว่า พระภิกษุบรรพชาเพื่อจะดับเสียซึ่งทุกข์นี้มิให้ทุกข์อื่นปรากฏบังเกิดขึ้น นี่
แหละโยมยังสงสัย เหมือนภิกษุนั้นดับเสียซึ่งทุกข์นี้ มิให้ทุกข์อันอื่นบังเกิดได้ ด้วยคิดว่า
อาตมาจะดับทุกข์นี้จะเพียรเสียแต่เดิมที ดับทุกข์เสียให้ได้ สมฺปตฺเต กาเล ในเมื่อกาลที่จะต้อง
เพียงอีกมีมา ก็จะมิได้พยายามกระทำความเพียรต่อไป กระนี้หรือกระไร
พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ได้แก่ฝ่าย
บรรพชิตคิดว่าเมื่อกาลจะต้องเพียรก็อุตส่าห์เพียรไป ถ้าเหตุมีขึ้นจะมิได้เพียรต่อไป จึง
พยายามเสียแต่แรก หวังจะมิให้พยายามต่อไป
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัสให้พระนาคเสนอุปมาว่า อุปมํ ภนฺเต กโรหิ โยมยัง
สงสัยอยู่ พระผู้เป็นเจ้ากระทำอุปมาให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร เปรียบปาน
เหมือนบพิตรพระราชสมภารฉะนี้ และทรงพระดำริจะใคร่เสวยอุทกังให้สบาย จึงสั่งคนทั้ง
หลายให้ขุดสระโบกขรณี ปลูกปทุมชาติลงไว้จะได้เสวยน้ำให้ทันอยาก หรือต่ออยากแล้วจึงจะ
ให้ขุดสระใหญ่ลงให้ทันเสวย จะทันเสวยหรือประการใด
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัสว่า หามิได้ โยมให้ขุดเสียก่อนแต่แรกเร่งให้กระทำไว้
ทีจะต้องประสงค์อุทกังเมื่อใด จะทันเสวยหรือประการใด
พระนาคเสนมีเถรวาจาถวายพระพรต่อไปว่า ฉันใดก็ดี ภิกษุที่เป็นบรรพชิตก็คิดว่า
เมื่อกาลที่จะได้ทุกข์เรียกว่าทุกข์อื่นจะมาถึง จึงกระทำความเพียรดับทุกข์นี้เสียแต่เดิม มิได้
กระทำความเพียรเพื่อจะดับทุกข์อันอื่นข้างหน้าต่อไป